การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ
































































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ

21.3.59

ชนิดพันธุ์มะม่วง

พันธุ์มะม่วง ที่ค้นพบในเขตร้อนจะพบได้ในประเทศอินเดีย,พม่า,มลายู และไทย ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิดโดยเฉพาะในประเทศอินเดียส่วนของประเทศไทยที่ปรากฎตามทำเนียบของกรมป่าไม้ คือมะม่วงบ้าน มะม่วงสวน นอกจากนั้นยังมีชนิดอื่นที่มีในป่าของไทยคือ 
1. mangifera caloneura kruz. ชื่อทั่วไปคือ มะม่วงกะล่อนหรือมะม่วงป่า ที่จังหวัดราชบุรีเรียกว่า มะม่วงเทพรส ส่วนภาคใต้เรียกว่า มะม่วงขี้ใต้, มะม่วงอะแฮม,ส้มม่วงคัน 
2. mangifra camptosperma, Pierre ที่จังหวัดโคราชเรียกว่า หมักมาง 
3. mangifra duperreana,Pierre var siamensis craib. ที่จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่ามะม่วงขี้ยา 
4. mangifera longipes, griff. ทางภาคตะวันตกเรียกว่า มะม่วงกะเล็ง 
5. mangifera syivatica, roxb. ทางภาคตะวันตกเรียกว่า มะม่วงช้างเหยียบ,มะม่วงลูกแป๊บจังหวัดลำปางเรียกว่า มะม่วงแป๊บ จังหวัดตราดเรียกว่า มะม่วงขี้ใต้ และทางภาคใต้เรียกว่า ส้มม่วงกล้วย 
นอกจากจะมีการผสมข้ามพันธุ์ได้แล้วการนำเมล็ดมาปลูก เพื่อได้ลำต้นขึ้นมาแล้ว ลักษณะจะผิดแปลกไปจากต้นแม่ซึ่งทำให้เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมาหลากสายพันธุ์ โดยแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะของต้น ทรงพุ่ม ใบ ผล และรสชาติก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

1.มะม่วงรับประทานแบบดิบ 
ส่วนมากมะม่วงแบบดั้งเดิมจะหวานตอนแก่จัด แต่ยังไม่ถึงขั้นสุก เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา พญาเสวย หงสาวดี ลิ้นงูเห่า ฯลฯ ส่วนอีกพันธุ์หนึ่งที่มีรสมันแต่ไม่เปรี้ยวตั้งแต่ผลยังเล็ก เช่น สายฝน สวนทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซง และแห้ว สามารถรับประทานผลดิบได้ทุกนชนิด โดยปกติแล้วมะม่วงสามารถเก็บได้ไม่กี่วันก็จะเริ่มสุก ทำให้มีรสชาติหวานชืดไม่อร่อย จึงไม่นิยมมารับประทานอย่างสุกยกเว้นบางสายพันธุ์ที่สามารถรับประทานแบบสุกได้ เช่น ทองดำ แรด เขียวเสวย ลิ้นงูเห่า และหงสาวดี เป็นต้น 

2.มะม่วงรับประทานแบบสุก 
เมื่อผลของมะม่วงแก่จัดจะต้องทำการบ่มให้สุกก่อนรับประทาน ในขณะที่ยังดิบอยู่จะมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อผลสุกจะมีรสชาติหวาน เช่น อกร่อง น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน พิมเสนพราหมณ์ ตลับนาก แสงทอง นวลจันทร์ ลิ้นงูเห่า เป็นต้น
3.มะม่วงใช้แปรรูป 
เป็นมะม่วงที่มีผลดกจะมีขนาดเล็กจนถึงขนาดปานกลาง ผลแก่มีรถชาติมันอมเปรี้ยวและผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวหรือรสจืดชืดผลดิบสามารถทำมะม่วงตากแห้ง และมะม่วงดองได้ และเมื่อผลสุกสามารถใช้เนื้อทำมะม่วงกวน และมะม่วงแผ่น ส่วนผลมะม่วงที่สามารถนำมาใช้แปรรูปกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ มะม่วงแก้ว มะม่วงพิมเสน สำหรับมะม่วงสามปีของภาคเหนือจะนิยมใช้ผลสุกทำแยม และครั้นน้ำบรรจุกระป๋อง เป็นต้น 


“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)




16.3.59

ลักษณะมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

1. น้ำดอกไม้
เป็นพันธ์ที่นิยมปลูกกันทั่วไป สามารถออกดอกแต่ติดผลปลานกลาง และให้ผลทุกปีผลมีขนาดปลานกลางถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของผลจะอ้วน หัวใหญ่ปลายแหลม ผลค่อนข้างยาว 
ลักษณะเปลือกบาง มีต่อมกระจายห่าง ๆ ทั่วผล
ผลดิบ ผิวเปลือกจะเป็นผิวนวล เนื้อแน่นหนาเป็นสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด 
ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเหลืองนวลเนื้อเป็นสีเหลืองมีรสหวาน 
เมล็ด แบนยาว เมื่อเพาะต้นอ่อนจะขึ้นได้จากเมล็ดเดียว


2. แรด
เป็นมะม่วงพันธ์เบา เจริญเติบโตเร็ว มีลักษณะเป็นพุ่มค่อนข้างทึบใบมีขนาดปลานกลาง 
ผล ตรงกลางมีลักษณะกลม หัวอ้วนใหญ่มีปลายแหลมเล็กน้อย ผิวเป็นคลื่นไม่เรียบ มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดที่เรียกว่า มีนอ ตรงส่วนบนด้านหลัง แต่บางผลและบางต้นจะไม่มีอัตราส่วนโยเฉลี่ยของความยาว : ความกว้าง : ความหนา เท่ากับ 1.9 : 1 : 1 
ลักษณะ เปลือกและผิวค่อนข้างหนาและเหนียว ต่อมมีขนาดใหญ่ไม่ค่อยชัดกระจายอยู่ทั่วผล 
ผลดิบ จะมีรสเปรี้ยวจัด เมื่อแก่จัดจะมีรสหวานอมเปรี้ยว 
ผลสุก ผิวเป็นสีเหลือง เนื้อเหลือง มีเสี้ยนค่อนข้างมาก 
เมล็ด รูปร่างค่อนข้างสั้น จะมีเสี้ยนติดเมล็ดค่อนข้างมาก น้ำหนักของเนื้อต่อเมล็ดเฉลี่ย 6.4 : 1 เมล็ดเดียวเพาะได้หลายต้น


3. ขียวเสวย
เป็นพุ่มหนาทึบ ใบเป็นสีเขียวเข้ม ผลใช้รับประทานดิบหรือสุกก็ได้ 
ลักษณะ เปลือกหนาและเหนียว มีต่อมไม่ค่อยชัด และกระจายอยู่ทั่วผล 
ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม และจะออกสีนวลเมื่อแก่ เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน 
ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อจะเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน 
เมล็ด สามารถเพาะต้นอ่อนขึ้นได้หลายต้นจากเมล็ดเดียว เมล็ดค่อนข้างแบนยาว เนื้อเมล็ดค่อนข้างเต็ม และมีเสี้ยนติดกับเมล็ดน้อย


4. ฟ้าลั่น
เป็นทรงพุ่มค่อนข้างทึบ ใบยาวคล้ายใบมะม่วงพันธ์สายฝน ออกผลค่อนข้างดก 
ลักษณะผลจะกลมมากกว่ามะม่วงพันธ์สายฝน แต่มีความยาวพอ ๆ กัน ปลายผลกลมมนเมื่อผลแก่จัดเนื้อจะเปาะบางมาก และอาจจะแตกทันทีเมื่อถูกคมมีดซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธ์เห็นได้ชัด 
ลักษณะ เปลือกจะหนา แต่ไม่เหนียว มีต่อมขนาดปลานกลางเห็นได้ชัด และกระจายอยู่ทั่วผล 
ผิวเปลือกเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อขาวนวล ลักษณะผิวหยาบ กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสชาติมันตั้งแต่ผลเล็ก ๆ เมื่อแก่จัดรสชาติจะหวานมัน 
ผลสุก ผิวเขียวปนเหลือง เนื้อเป็นสีเหลืองเนื้อค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนน้อยรสหวานไม่จัดนัก 
เมล็ด เมื่อเพาะจะมีต้นอ่อนขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว รุปร่างของเมล็ดยาว แบนมีเนื้อในเมล็ดไม่เต็ม 


5. มะม่วงแก้ว 
มะม่วงแก้วไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะต้นเตี้ย ทรงพุ่มกว้างกิ่งก้านแข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลงสามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ 
ลักษณะ เปลือกจะหนา ผิวเป็นสีเขียวเข้มนวล 
ผลดิบ เนื้อหวานหอม แน่น และกรอบมียางน้อย และจะมันเมื่อแก่จัด 
ผลสุก จะมีรสชาติหวาน 


6. มะม่วงหนองแซง
มะม่วงพันธ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี จะออกดอกและติดผลดี ลักษณะต้นเป็นทรงค่อนข้างทึบใบใหญ่ และสั้น ขอบของใบจะเป็นคลื่นเล็กน้อย จะมีลักษณะการแตกใบผิดกับมะม่วงพันธ์อื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตรมะม่วงพันธ์นี้ไม่ทนทานต่อการถูกน้ำท่วมขังถ้าหากท่วม 3-4 วันต้นจะเฉาทันที 
ลักษณะ เปลือกและผิวค่อนข้างหนา จะมีต่อมขนาดปลานกลางกระจายทั่วผล 
ผลดิบ ผิวของเปลือกจะมีสีเขียวนวลสีของเนื้อค่อนข้างขาว ลักษณะสีของเนื้อจะละเอียดมีเสี้ยนเล็กน้อย รสชาติจะมันจัดตั้งแต่ยังเป็นผลเล็ก ๆ เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน และกรอบ 
ผลสุก ผิวของเปลือกจะมีสีเหลือง สีของเนื้อจะเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อจะละเอียดมีรสชาติหวานชืด 
เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนยาว เนื้อในเมล็ดมีน้อย และเมื่อเพาะต้นอ่อน จะสามารถขึ้นได้หลายต้นจากเมล็ดเดียว






10.3.59

การขยายพันธ์มะม่วง

1.การเพาะเมล็ดมะม่วง 
ใช้กับการปลูกบริเวณถนนในสวน การขยายพันธ์ด้วยเมล็ดนั้นสามารถใช้เป็นต้นหลักได้อีก เช่น การเพะเมล็ดมะม่วงแก้วเพื่อใช้เป็นต้นหลักมะม่วงพันธ์ดีต่าง ๆ ซึ่งมีหลักและวิธีการดังนี้ 

การคัดเลือกเมล็ดพันธ์มะม่วง ควรมีลักษณะ ดังนี้ 
1.เมล็ดที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและแมลงต่าง ๆ 
2.เมล็ดที่สมบูรณ์ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง 
3.มาจากสายพันธ์ที่ดี 


วิธีการเพาะเมล็ด 
การเพาะเมล็ดมะม่วงที่นิยมกัน แบ่งออกได้ 2 วิธีคือ 

1. การเพาะในถุงพลาสติก 
ควรทำการเลือกถุงพลาสติกขนาด 6×9 นิ้ว หรือ 5×8 นิ้ว โดยนำเอาถุงพลาสติกมาเจาะรูด้านล่างประมาณ 2 รูและพับปากถุงพลาสติกลงประมาณ 1-2 นิ้ว การที่พับถุงเพื่อให้ถุงมีความหนาและแข็ง เมื่อทำการรดน้ำปากถุงก็จะไม่เอียงลงไปปิดกั้นน้ำที่จะไหลลงถุงทำให้ดินที่บรรจุภายในถุงรับน้ำเต็มที่ 
วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ด คือส่วนผสมระหว่าง ดิน-แกลบ-ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1 ดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วนและย่อยให้ระเอียด

2. การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ 
การเตรียมแปลงเพาะ ควรหาความกว้างและความยาวของแปลงนั้นให้เหมาะสม กับจำนวนเมล็ดที่ทำการเพาะโดยคำนวณได้จากระยะระหว่างต้นและแถว ต่อเมล็ด 10 เซนติเมตร ระหว่างแถว 20 เซนติเมตร 
การเตรียมเมล็ดพันธ์ สำหรับวิธีการเพาะ 2 วิธี ควรผสมยาจับแมลงไปในน้ำยาเพื่อช่วยลดเข้าทำลายของเชื้อราได้มากขึ้น 
การฝังเมล็ดลงในดิน ให้เอาส่วนที่เว้าของเมล็ดอยู่ด้านล่าง แล้วฝังลึกประมาณครึ่งนิ้






7.3.59

การทาบกิ่ง

1.การเตรียมต้นหลัก 
การเพาะเมล็ดเพื่อทำเป็นต้นหลัก

เมล็ดที่นำมาเพาะควรเป็นเมล็ดที่ได้มาจากผลมะม่วงสุกจากนั้นก็ทำการแยกเนื้อเอาเปลือกออกก่อนนำไปเพาะ ซึ่งช่วยให้เมล็ดเพาะได้เร็วขึ้น 
ต้นกล้าเมื่อมีอายุ 2 เดือน หรือมีขนาดของลำต้นโตแล้ว ก็สามารถนำมาใช้เป็นต้นหลักในการทาบกิ่งได้โยการตัดแต่งรากออก โดยให้ส่วนของรากแก้วเหลือประมาน 3 นิ้ว และหากรากฝอยมีมากเกินไป ให้ตัดออก ส่วนยอดควรตัดออกให้หมดเพื่อลดการคลายน้ำหรือตัดยอดไปทิ้ง เสร็จแล้วนำไปบรรจุในถุงใส่ขุยมะพร้าว 4×6 นิ้ว ใช้ลวดรัดกลางถุง สำหรับขุยมะหร้าวที่จะนำมาใช้อัดถุง ควรแช่น้ำไว้ก่อนอย่างน้อย 1 คืน 


วิธีการทาบกิ่ง 

◦  เลือกกิ่งพันธุ์ดีไว้ก่อน 
◦  ทำการเฉือนกิ่งให้เป็นรูปโล่ ความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว 
◦  ส่วนต้นหลักที่เตรียมไว้ให้เฉือนเป็นรูปปากฉลาม และความยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว และสูงจากปากถุงประมาณ 1-2 นิ้ว 
◦  จากนั้นให้นำต้นหลักทำการประกบกับกิ่งพันธุ์ดีที่ทำการเฉือนแผลไว้แล้ว 
◦  ทำการสอดปลายต้นหลักเข้าไปใต้ลิ้นของกิ่งพันธ์ประกบรอยแผลทั้งสองให้สนิท 
◦  หลังจากนั้นให้ใช้ผ้าพลาสติกหรือเชือกฟางทำการมัดรอยแผลให้แน่น 
◦  จากนั้นประมาณ 30 – 40 วัน รอยแผลจะทำการผสานตัวติดกัน 
◦  รากของต้นหลักจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล โดยที่ปลายรากจะมีสีขาวเป็นจำนวนมาก 
◦  หลังจากนั้นให้ทำการตัดลงไปชำไว้ 
◦  แกะถุงพลาสติกที่ทำการห่อหุ้มออก 
◦  นำต้นหลักมาทำการเพาะชำไว้ที่ร่มต่อไป