การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ
































































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ

25.4.59

การติดผลของมะม่วงและการเก็บเกี่ยว

การติดผลของมะม่วง

มะม่วงจะออกดอกครั้งหนึ่งๆ เป็นจำนวนมากมาย แต่จะติดเป็นผลเพียงไม่กั้ผลต่อช่อเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น ลักษณะของดอกมะม่วง ซึ่งดอกส่วนใหญ่จะเป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์ไม่้สามารถเจริญเป็นผลได้ และปัญหาที่พบอยู่เสมอ คือ การเกิดราดำที่ดอก ทำให้ดอกร่วงหล่นเสียเป็นส่วนมาก หรือหมดทั้งต้น ทั้งนี้เพราะว่าที่ดอกมะม่วงจะมีต่อมน้ำหวาน ทำให้แมลงต่างๆ มาดูดกิน โดยเฉพาะพวกเพลี้ยจั๊กจั่น ซึ่งระบาดมากในช่วงมะม่วงออกดอก เพลี้ยจั๊กจั่นนอกจากจะดูดกินน้ำหวานและน้ำเลี้ยงที่ดอกทำให้ดอกร่วงหล่นแล้ว ยังถ่ายมูลออกมาเป็นอาหารของราดำอีกด้วย จึงทำให้ราดำซึ่งมีอยู่แล้วตามใบและในอกาศเจริญอย่างรวดเร็ว

ในช่วงที่มะม่วงออกดอกนี้ อากาศมักจะหนาวเย็น และมีหมอกมากในตอนเช้า เมื่อหมอกจับตัวเป็นละอองน้ำตามช่อดอก และใบราดำก็จะเจริญได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดอกร่วงหล่นจนหมด จนกลายเป็นความเชื่อว่า ถ้าปีใดมีหมอกจัดในระยะที่ดอกมะม่วงบานปีนั้นมะม่วงจะติดผลน้อยเพราะน้ำค้างเค็มทำให้ดอกร่วง ซึ่งความจริงแล้ว น้ำค้างไม่ได้เค็ม แต่เป็นเพีราะราดำและเพลี้ยจั๊กจั่นดังกล่าว


การเก็บเกี่ยว
การเก็บผลมะม่วงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ต้องเก็บให้ถูกต้อง เพ่อให้ผลมะม่วงที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดไม่อ่อนเกินไป หรือปล่อยไว้จนสุกงอมเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์มะม่วง และความใกล้ไกลของตลาด เป็นสำคัญ ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงจะแก่เมื่อใดนั้น สิ่งที่น่าสังเกต 2 ประการ คือ
1. แก้มผลทั้ง 2 ข้างพองโตเต็มที่ สีผิวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวจาง สังเกตจากผิวของผลมะม่วงมีสีขาวนวลหนือไขปกคลุมผล
2. เก็บตัวอย่างผลมะม่วงมา 2-3 ผล เพื่อทดสอบ โดยนำมะม่วงมาแช่น้ำดู หากผลมะม่วงจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่พอเก็บได้ และเวลาเก็บต้องอย่าให้ช้า มิฉะนั้นจะเน่าและเสียได้ง่ายเวลามะม่วงสุกเกษตรกรสามารถนับอายุของมะม่วงเพื่อการเก็บเกี่ยวได้ ดังนี้

1. มะม่วงเขียวเสวย อายุการเก็บเกี่ยว 110 วัน นับตั้งแต่เริ่มออกดอก

2. มะม่วงน้ำดอกไม้ อายุการเก็บเกี่ยว 100 วัน นับตั้งแต่ดอกบานเต็มที่

3. มะม่วงหนังกลางวัน อายุการเก็บเกี่ยว 110-115 วัน นับตั้งแต่ดอกบานเต็มที่

4. มะม่วงทองดำ อายุการเก็บเกี่ยว 102 วัน นับตั้งแต่ดอกบานเต็มที่

5. มะม่วงฟ้าลั่น อายุการเก็บเกี่ยว 70 วัน นับตั้งแต่หลังช่อดอกติดผล 50%

6. มะม่วงแรด อายุการเก็บเกี่ยว 77 วัน นับตั้งแต่หลังช่อดอกติดผล 50%

7. มะม่วงพิมเสน อายุการเก็บเกี่ยว 95 วัน นับตั้งแต่ดอกบานเต็มที่

สิ่งที่ต้องระวังอีกประการหนึ่ง คือ อย่าให้ยางมะม่วงไหลและจับที่ผล จะทำให้เป็นตำหนิไม่สวยงามไม่น่าซื้อ หรืออาจทำให้มะม่วงเน่าและซ้ำได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะม่วงที่มีเปลือกบาง หรือที่รับประทานผลสุก เช่น มะม่วงอกร่อง

วิธีการเก็บมะม่วงที่ถูกต้อง คือ ใช้ใบมีดคมๆ ติดที่ป่กตะกร้อสอยมะม่วง เพื่อตัดขั้วผลติดมาด้วย หลังจากเก็บใหม่ๆ ต้องวางคว่ำผลลง แล้วปลิดขั้วผลออกให้ขั้วมะม่วงคว่ำลงที่ก้นภาชนะ ยางจะไหลออกไปโดยไม่ถูกผล และที่ก้นภาชนะต้องมัวัสดุนิ่มๆ รองอยู่ เช่น ใบตองแห้ง เมื่อยางแห้งแล้วจึงนำไปบ่มให้สุก เพื่อจำหน่ายต่อไป


การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น
เนื่องจากมีผู้สนใจปลูกมะม่วงกันแพร่หลาย และมักจะประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้วไม่ค่อยติดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีหมอกลงจัดในขณะที่ช่อดอกกำลังบานแล้ว ก็จะยิ่งทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งก็มีความเชื่อกันอย่างนั้น ซึ่งสาเหตุหรืออุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้มะม่วงเมื่อออกดอกแล้วไม่ติดผล มีดังต่อไปนี้ คือ
1. สาเหตุอันเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ
สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล ซึ่งพบสาเหตุนี้ในเกือบทุกสวนมะม่วง หรือทุกต้นมะม่วงในท้องที่จังหวัดต่างๆ เกือบทุกจังหวัดก็ว่าได้ การทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น หรือที่ชาวสวนเรียกกันว่า แมงกะอ้า กับโรคราดำนั้น เกิดควบคู่กันไป กล่าวคือ

เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วง เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชื้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราดำเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว


“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)



20.4.59

วิธีป้องกันและกำจัด เพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ

เนื่องจากเพลี้ยจั๊กจั่นจะเริ่มทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ตั้งแต่ช่อมะม่วงเริ่มออกช่อดอก ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว เรื่อยไป จนกระทั่งมะม่วงติดผลขนาดเท่าหัวแม่มือจึงหยุดทำลาย ดังนั้น การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงเพื่อทำลายเพลี้ยจั๊กจั่น ก็ควรเริ่มตั้งแต่ช่อดอกเริ่มออก ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ คือ
(1) ใช้ยาเซฟวิน 85% จำนวน 2 ช้อนแกง ผสมน้ำสะอาด 1 ปี๊บ หรือดีลดริน 25% อัตรา 5-6 ว้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ พ่นที่ช่อดอกทุก 7 วัน โดยเริ่มตั้งแต่ช่อดอกยาวประมาณ 3-4 นิ้ว นอกจากนี้ ยังมียาฆ่าแมลงที่ใช้กับเพลี้ยจั๊กจั่นได้ผลดี ไม่เป็นอันตรายต่อคน และสามารถทำเองได้ ได้แก่ โล่ติ้นหรือหางไหล และยาฉุน วีธีเตรียมโล่ติ้น ใช้โล่ติ้น 1 กิโลกรัม ทุบให้แหลก แช่น้ำ 1 ปี๊บ ไว้หนึ่งคืน แล้วกรองให้สะอาด เติมน้ำเปล่าลงไปอีก 19 ปี๊บ ใช้ฉีดฆ่าแมลงได้ดี

วิธีเตรียมยาฉุน ใช้ยาฉุน 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 2 ลิตร นาน 1 ชั่วโมง หรือแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองให้สะอาด เติมน้ำอีก 3 ปี๊บ ถ้าใส่สบู่ซัลไลน์ลงไปด้วย สักก้อนต่อน้ำยาทุก 4 ปี๊บ จะยิ่งได้ผลในการฆ่าแมลงมากขึ้น

(2) หยุดพ่นสารเคมีในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบาน เพราะถ้าพ่นสารเคมีในระยะดอกบานแล้ว สารเคมีจะไปเคลือบปลายเกสรตัวเมียของดอก ทำให้ละอองเกสรตัวผู้ไม่สามารถเคลื่อนตัวไปผสมกับเกสรตัวเมียได้สะดวก เป็นเหจตุให้มะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากดอกไม่ได้รับการผสมเกสร และสาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ สารเคมีจะไปฆ่าแมลงต่างๆ รวมทั้งผึ้ง ที่มีส่วนช่วยในการผสมเกสรดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงไม่ได้รับการผสมเกสร มะม่วงจึงไม่ติดผล
(3) หลังจากมะม่วงติดผลขนาดเท่าหัวแมลงวัน หรือเท่าเมล็ดถั่งเขียว จึงค่อยพ่นสารเคมีเซฟวินอีก โดยพ่นทุกๆ 7 วัน และหยุดพ่นเมื่อผลโตเท่าหัวแม่มือแล้ว หรือหยุดพ่นก่อนนี้ก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่มีเพลี้ยจั๊กจั่นทำลายต่อไปแล้ว โดยให้สังเกตดูตามช่อมะม่วง ตัวเต็มวัยของเพลี้ยจั๊กจั่นจะมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวหรือหัวไม้ขีดไฟ มีสีน้ำตาล กระโดดไปมาตามช่อดอกและใบมะม่วง การพ่ยสารเคมีฆ่าแมลงปราบเพลี้ยจั๊กจั่นเป็นการปราบราดำในทางอ้อมด้วย เพราะถ้าเพลี้ยจั๊กจั่นหมดไปก็ไม่มีสารที่เพลี้ยจั๊กจั่นขับถ่ายออกมา ที่เป็นอาหารของราดำ โรคราดำก็ไม่ระบาดต่อไป

เนื่องจากช่อดอกมะม่วงอยู่สูง ในการพ่นสารเคมี จึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังนี้ คือ
(1) พ่นสารเคมีในขณะที่ลมสงบ ถ้ามีลมเล็กน้อยก็ให้อยู่หัวลม หรือหันหลังให้ลม ระวังอย่าให้ละอองสารเคมีปลิวมาถูกตัวได้
(2) ถ้าพ่นสารเคมีที่ช่อดอกมะม่วงใกล้บ้าน ต้องระวังอย่าให้ละอองสารเคมีปลิวไปถูกอาหาร เครื่องนุ่งห่มหรือสัตว์เลี้ยง
(3) ผู้พ่นสารเคมีควรป้องกันไม่ให้ละอองยาปลิวมาถูกตัวได้ กล่าวคือ ควรสวมหมวก มีหน้ากาก หรือใช้ผ้าปดจมูกสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือใส่เสื้อกันฝน ก็ได้ และควรสวมถุงมือด้วย
(4) อย่าสูบบุหรี่ในขณะที่พ่นสารเคมี
(5) เมื่อพ่นสารเคมีเสร็จแล้ว ให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง เพราะสบู่จะมีส่วนช่วยละลายคราบสารเคมีฆ่าแมลง ที่ติดตามผิวหนังได้

2. สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอก
2.1 เมื่อต้นมะม่วงอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม้ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งทางหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปี จึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนี้ เป็นต้น

วิธีป้องกันรักษา คือ ให้เด็ดดอกทิ้งเสียในขณะที่ช่อดอกเริ่มออก เพื่อต้นมะม่วงจะได้ไม่เสียน้ำเลี้ยงไปสร้างช่อดอกต่อไป ถ้าปล่อยช่อดอกไว้ไม่เด็ดทิ้ง อาจติดผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ และต้นมะม่วงจะเสียน้ำเลี้ยงในการไปสร้างผล จึงทำให้การเจริญเติบโตของลำต้นช้าลง หรือชะงักงัน

2.2 ต้นมะม่วงขาดน้ำ หรืออากาศแห้งแล้งในระยะที่มีช่อดอก จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง และร่วงหล่นไปได้

วิธีป้องกันรักษา คือ หลังจากมะม่วงออกช่อดอกแล้ว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้แห้ง

2.3 ช่อดอกมะม่วงสกปรก มีดอกแห้งร่วงหล่นติดค้างอยู่ที่ช่อดอกมาก ซึ่งสาเหตุเนื่องมาจากเพลี้ยจั๊กจั่นและราดำเข้าทำลายช่อดอก และสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยจั๊กจั่น ซึ่งเป็นสารเหนียวๆ ยึดเกาะดอกที่แห้ง และร่วงห้อยติดอยู่กับดอกเป็นกระจุก ทำให้ผลมะม่วงลูกเล็กๆ ซึ่งเพิ่งติดผลนั้น ไม่ได้รับอากาศและแสงแดดเต็มที่ เป็นเหตุให้ผลมะม่วงไม่เจริญต่อไป และร่วงหล่นได้ง่าย

วิธีป้องกันรักษา โดยปกติแล้ว ในขณะที่ช่อดอกมะม่วงบานเต็มที่ และติดผลมะม่วงลูกเล็กๆ ขนาดประมาณเมล็ดถั่วเขียว หรือเท่าหัวแมลงวัน ตามที่ชาวสวนเรียกกันนั้น จะมีฝนตกมาชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ฝนชะช่อมะม่วง ฝนที่ตกมาช่วงนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยชะล้าง ทำความสะอาดช่อมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงที่แห้งล่วงหล่นลงสู่ดิน เหลือไว้แต่ผลมะม่วงลูกเล็กๆ ติดอยู่ที่ช่อ จึงทำให้ผลมะม่วงเหล่านั้นเจริญเติบโตได้ ตามปกติและรวดเร็วขึ้น เนื่องจากสิ่งแวดล้อมอำนวยให้ได้รับอากาศและแสงแดดเต็มที่ แต่ถ้าหากว่าไม่มีฝนดังกล่าวแล้ว ในระยะที่มะม่วงติดผลเล็กๆ โดยผลมีขนาดประมาณเมล็ดถั่วเขียว หรือหัวแมลงวันนั้น ให้ช่วยทำความสะอาดช่อดอก โดยการพ้นน้ำที่สะอาด เพื่อช่วยชะล้างช่อมะม่วง พ่นเบาๆ อย่าพ่นแรง ถ้าพ่นแรงจะทำให้ผลมะม่วงเล็กๆ เหล่านั้นร่วงหล่นได้

2.4 ต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ หากต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ ก็จะทำให้ช่อดอกมะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากขาดอาหาร หรือน้ำเลี้ยงที่จะมาเลี้ยงช่อดอกหรือผลต่อไปได้

วิธีป้องกันรักษา ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์และแข็งแรง โดยพรวนดินตื้นๆ บริเวณรอบรัศมีทรงพุ่ม และใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 ควบคู่ไปกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ รดน้ำตาม จะทำให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และให้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่แห้ง หรือกิ่งที่มีโรคหรือแมลงทำลาย ออกเสีย อนึ่ง อาจมีสาเหตุอื่นอีกที่มะม่วงออกช่อดอก แล้วไม่ติดผล เช่น อาจเป็นเพราะในท้องที่ที่ปลูกมะม่วงนั้น มีแมลงช่วยผสมเกสรอยู่น้อย หรืออาจเป็นเพราะ ต้นมะม่วงที่ปลูกนั้นอยู่ในที่อับ ไม่มีอากาศพัดผ่าน และแสงแดดน้อย เรื่องพันธุ์มะม่วงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์พิมเสน มักจะออกดอกติดผลได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และมักจะออกดอกนอกฤดูกาลอีกด้วย พันธุ์แรดมักจะออกดอกก่อนพันธุ์อื่น และออกดอกติดผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี เหล่านี้เป็นต้น

สรุปการปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมาก
1) เมื่อช่อมะม่วงเจริญพันธุ์พุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้ว ควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอและให้ปุ๋ยด้วยจะดียิ่งขึ้น การรดน้ำควรรดแต่น้อยก่อน แล้วจึงมากขึ้นๆ เรื่อยๆ
2) การพ่อนยากำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง ครั้งแรกให้พ่นระยะที่ดอกยังตูมและครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ
3) ถ้าไม่พ่นยากำจัดแมลง อาจพ่นน้ำเปล่าๆ ในระยะที่ดอกมะม่วงบานและติดเป็นผลอ่อนเพื่อล้างช่อดอก

ข้อควรระวังในการใช้สารเคมี
1. สวมถุงมือ
2. พ่นด้วยเครื่องพ่นสพายหลัง
3. สวมแว่นตา
4. ทำความสะอาดร่างกายเมื่อเสร็จ
5. สวมบูท
6. สวมหน้ากาก ปิดจมูกและปาก
7. เก็บมิดชิดห่างจากเด็ก



“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)




19.4.59

โรคแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด

กล้ามะม่วงที่ใช้สำหรับเพาะทำต้นตอ อาจมีเชื้อราและเพลี้ยทำลายยอดอ่อนรวมทั้งแมลงกัดกินใบอ่อนที่โผล่ขึ้นมา จึงจำเป็นต้องพ่นสารเคมีฆ่าเชื้อราและเพลี้ยกันไว้สารเคมีที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ คูปราวิท ป้องกันเชื้อรา และเซฟวิน ป้องกันแมลงกัดกินใบรวมทั้งพาราไธออน หรือมาลาไธออน กันเพลี้ยหรือแมลงดูดน้ำเลี้ยง

สำหรับมะม่วงต้นใหญ่ ศัตรูที่สำคัญ ได้แก่
1. แมลง
1.1 เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง (Mongo hopper : Idiocerus spp) จะเข้าทำลายมะม่วงตั้งแต่เริ่มออกดอก โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกและช่อดอก ทำให้ดอกร่วงหล่น ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ผลอ่อนก็จะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น มะม่วงไม่ค่อยติดผล เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงยังถ่ายมูลที่มีลักษณะเป็นน้ำหวานออกมาติดอยู่ตามใบ เป็นอาหารขอราดำ ทำให้ราดำระบาดจับอยู่ตามใบมะม่วง ทำให้ใบมะม่วงสังเคราะห์อาหารได้น้อยลง

การป้องกันและกำจัด ให้พ่นสารเคมี เช่น เซฟวินทุก 7 วัน โดยเริ่มต้นเมื่อมะม่วงเริ่มแตกช่อดอก แต่งดเว้นการพ่นสารเคมีเมื่อดอกมะม่วงกำลังบาน และเมื่อเห็นว่ามะม่วงติดผลดีแล้ว

นอกจากวิธีที่กล่าวแล้ว ยังอาจไล่ให้เพลี้ยจั๊กจั่นหนีไปได้ โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วงให้มีควันมากๆ ส่วนการกำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงนั้น ให้ทำก่อนที่จะระบาดมาก หรือทำในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน จะสามารถกำจัดได้ง่าย ถ้าปล่อยไว้จนเป็นตัวแก่จะมีปีกบินหนีไปยังต้นอื่น เมื่อคนเดินเข้าไปใกล้ หรือเมื่อพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งจะทำให้การกำจัดไม่ค่อยได้ผล

1.2 เพลี้ยไฟ นอกจากเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงแล้ว ในระยะที่มะม่วงออกดอกนี้ อาจมีเพลี้ยไฟเข้าทำลายช่อดอกด้วย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ดอก

ทำให้ดอกร่วง เช่นกัน เพลี้ยไฟทำลายพืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ช่อดอกมะม่วง ทำให้เป็นแผลจุดสีดำ ถ้าระบาดรุนแรงผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด ถ้าเป็นระยะดอกจะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดผลหรือติดผลน้อย ซึ่งจะระบาดเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้ง อย่างไรก็ตามมีการพบเห็นเพลี้ยไฟหลังจากฝนตกบ้าง

การป้องกันและกำจัด ถ้าพบไม่มากให้ตัดทำลาย เผาทิ้ง ถ้าพบมากควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงพ่น Cyhalothrim หรือ โมโนโครโตฟอส หรือคาร์บาริล ฉีดพ่นอย่างน้อย 2 ครั้ง เมื่อเริ่มแทงช่อดอก และช่วงมะม่วงติดผลขนาด 0.5 - 1 ซม. หรือเท่ามะเขือพวง

1.3 หนอนเจาะลำต้น เป็นหนอนของด้วงปีกแข็ง หนวดยาว ตัวสีน้ำตาล โดยตัวแม่วางไข่ตามรอยแตกของเปลือกต้นมะม่วง แล้วตัวหนอนจะกัดกินเนื้อไม้เข้าไปในต้นหรือกิ่ง และจะสร้างขุยปิดรูที่มันเจาะเข้าไป ถ้าระบาดมากๆ ต้นหรือกิ่งจะตายได้

การป้องกันและกำจัด ป้องกันไม่ให้ด้วงชนิดนี้มาวางไข่ที่เปลือกของลำต้น โดยการทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นและลำต้น อย่าให้ลำต้นมีรอยแผล ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง การฉีดยาฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ด้วงไม่มีโอกาสวางไข่ โดยฉีดตามรอยแตกของเปลือกไม้ พ่นสารชนิดที่มีกลิ่นและดูดซึมเคลือบเปลือกลำต้นเป็นครั้งคราว หากพบว่ามีตัวหนอนกัดกินเข้าไปข้างในแล้ว และสร้างขุยปิดปากรูอยู่ ให้รีบทำลายตัวหนอนทันที โดยหาเหล็กแหลมเขี่ยเอาตัวหนอนออกมา หรือฆ่าตัวหนอนเสีย แต่ถ้าตัวหนอนเข้าไปลึกแล้ว ให้ใช้ยาฉีดยุงแบบสเปรย์ฉีดเข้าไปในรู แล้วอุดรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมัน หรือเคมีชนิดฟุ้งกระจาย เช่น ฟูโมแก๊ส พ่นเข้าไปตามรูเพื่อให้สารเคมีระเหยไปฆ่าตัวหนอน จะทำให้ตัวหนอนตาย

1.4 ด้วงมะม่วง เป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ตัวแก่จะวางไข่ที่ผลอ่อน แล้วตัวหนอนจะเจริญอยู่ในเมล็ด พอเป็นตัวแก่ก็จะกัดกินเนื้อออกมา

การป้องกันและกำจัด เมื่อตัวหนอนเข้าไปอยู่ข้างในแล้ว กำจัดได้ยาก และผลมะม่วงมักเสียหายไปแล้ว การฉีดยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึมจะช่วยได้บ้าง การดูแล หมั่นทำความสะอาดสวนอยู่เสมอไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของด้วงและแมลงต่างๆ จะช่วยป้องกันการระบาดของด้วงมะม่วงได้

1.5 แมลงวันผลไม้ทำลายผลมะม่วง แมลงวันผลไม้ตัวเมียจะวางไข่ใต้ผิวของผลมะม่วง เมื่อไข่เจริญเป็นตัวหนอน หนอนจะไชชอนกินเนื้อมะม่วงเป็นอาหาร ทำให้ผลมะม่วงเน่าเสียหายร่วงหล่นได้

การป้องกันและกำจัด ทำได้หลายวิธี
1. ห้อผลมะม่วงด้วยกระดาษหรือใบตองแห้ง
2. ทำลายดักแด้โดยการไถพรวนดินบริเวณโคนต้น หรือใช้สารเคมีฆ่าแมลงพ่นลงดินเพื่อฆ่าดักแด้ เช่น ดีลดริน คลอเดน
3. เก็บผลมะม่วงที่ถูกทำลายโดยแมลงวันผลไม้ที่หล่นโคนต้นทำลายเสีย

2. โรค
โครต่างๆ ของมะม่วงไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงมากนัก ที่พบเสมอได้แก่ โรคแอนแทรคโนส (anthracnose : Colletotrichum gleosporiodes, Penz) ซึ่งทำอันตรายกับทุกส่วนของต้น อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดๆ สีน้ำตาลดำ และขยายตัวออกเป็นแผลแห้งๆ ขอบแผลมีสีเข้ม ที่ใบ กิ่ง ช่อดอก และผล ทำให้ใบเป็นรูพรุนทั่วไป ถ้าเป็นกับใบอ่อนหรือยอดอ่อน จะทำให้ใบบิดเบี้ยวและยอดแห้ง

ถ้าเกิดที่ดอกจะทำให้ดอกร่วง ถ้าเกิดกับผลอ่อนจะทำให้ผลนั้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ส่วนผลที่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นโรคนี้อาจร่วงไปเลย

การป้องกันและกำจัด
1. ตัด ทำลาย และเผาไฟเสีย
2. พ่นสารกันเชื้อรา เช่น ไชเนบ (Zinep) , แมนเซทดี (Manzate-D) หรือ เบนเลท 50 จำนวน 10-12 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7-10 วัน โดยเฉพาะในระยะที่มีอากาศชุ่มชื้นมาก เช่น ในฤดูฝน นอกจากโรคแอนแทรคโนสแล้ว แาจมีโรคราแป้ง หรือโรคราขี้เถ้า ทำลายใบและดอกให้ร่วงหล่น แต่ไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงนัก

นอกจากสวนที่ปล่อยปละละเลย ไม่ได้ดูแลทำความสะอาดสวนเลย การทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ และบำรุงต้นมะม่วงให้เจริญเติบโตแข็งแรง จะเป็นการป้องกันไม่ให้โรคและแมลงศัตรูต่างๆ ระบาดได้เป็นอย่างดี



“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)



18.4.59

การบำรุงต้นมะม่วงหลังการเก็บผล

ต้นมะม่วงที่ติดผลจะต้องใช้แร่ธาตุอาหารจำนวนมากสำหรับเลี้ยงผล ยิ่งติดผลมากก็ยิ่งต้องใช้ธาตุอาหารมาก ดังนั้น การบำรุงต้นให้สมบูรณ์หลังจากที่เก็บผลแล้วจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง สามารถจะให้ผลในปีต่อไปได้

การบำรุงต้น ทำได้ดังนี้ คือ ขุดพรวนบางๆ รอบโคนต้น โรยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออาจเติมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ลงไปด้วยก็จะยิ่งดี เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้น ถ้าให้น้ำอยู่เสมอเป็นระยะๆ จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง แต่ควรจะงดการให้น้ำประมาณ 5-6 เดือน ก่อนที่มะม่วงจะออกดอก เพราะถ้าให้น้ำในระยะนี้ ต้นมะม่วงอาจแตกใบอ่อน แล้วใบอ่อนจะแก่ไม่ทัน การที่มะม่วงจะออกดอกได้ ใบต้องแก่จัดเต็มที่ก่อนเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธุ์

อีกวิธีหนึ่งคือ การทำรางดินรอบต้น โดยการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 1 ศอก รอบต้น ในรัศมีทรงพุ่ม แล้วใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยวิทยาศาสตร์ลงไปในรางดินนั้น แล้วกลบดินรดน้ำให้ชุ่ม ให้ทำเช่นนี้ทุกๆ ปี รางดินนี้จะขยายออกไปเรื่อยๆ เพราะต้นมะม่วงจะโตขึ้นทุกๆ ปี

สำหรับการปลูกในที่ๆ น้ำไม่อุดมสมบูรณ์ ต้องอาศัยแต่น้ำฝนเพียงอย่างเดียว เมื่อเก็บผลแล้ว ก็ให้ทำเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว แต่ไม่ต้องรดน้ำ รอจนกว่าฝนจะตก นอกจากการใส่ปุ๋ยและให้น้ำแล้ว ควรจะตัดแต่งกิ่งด้วย กิ่งที่แก่เกินไป กิ่งที่มีโรคแมลงรบกวน กิ่งที่อยู่ในพุ่มควรตัดออก เพื่อประหยัดอาหารที่จะไปเลี้ยงกิ่งที่ไม่มีประโยชน์เหล่านี้

สำหรับการปลูกมะม่วงในสภาพยกร่อง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในที่ต่ำมีน้ำท่วมถึง ดินมักเป็นดินเหนียว การเจริญเติบโตด้านทรงพุ่ม ค่อนข้างช้ากว่ามะม่วงที่ปลูกในดินทราบ หรือดินร่วนปนทราย สภาพความชื้นสูงกว่าสภาพไร่ หลังเก็บเกี่ยวควรตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย โดยพิจารณาปริมาณปุ๋ยที่ใส่ในปีที่ผ่านมาประกอบด้วย โดยทั่วไปใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15 อัตรา 2-3กก./ต้น อาจใส่แบบเป็นจุดๆ บริเวณทรงพุ่ม หรือว่านรอบของพุ่มก็ได้ และควรเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ด้วย กรณีดินเป็นกรดอาจ ปรับดินด้วยปูนขาว หรือโคโลไบค์ การให้ธาตุอาหารแก่ต้นมะม่วงอีกวิธีหนึ่งคือการลอกเลนมาปรับแต่งคันร่องสวน

เมื่อมะม่วงแตกใบอ่อน 2 ครั้งแล้ว ให้ลดระดับน้ำในท้องร่อง กระตุ้นให้มะม่วงพักตัวในระยะแตกใบอ่อน อาจพบโรคและแมลงระบาด ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ระยะดอกใช้เวลาประมาณ 17 วัน ตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอกจนถึงดอกบาน ควรให้น้ำประปรายทางใบ และรดน้ำบริเวณโคนต้นเล็กน้อย เมื่อติดผลแล้ว อาจให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงผล โดยใช้ปุ๋ยน้ำ สูตร 15-30-15 หรือ 6-24-24 อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร จนถึงอายุ 60 วัน อาจมีการร่วงหล่นของผลได้ การร่วงหล่นอาจเกิดจากอุณหภูมิหรือความชื้น ที่เปลี่ยนแปลงมาก ช่วงผลอ่อนขนาดไข่ไก่ อาจทำการตัดแต่งช่อผล ช่วยให้ผลที่เหลือเจริญเติบโตดี และไม่หลุดร่วง ระยะผลมะม่วงเข้าไคล 90 วันหลังดอกบาน ควรเริ่มลดระดับน้ำ เพื่อให้ผลแก่ หรืออาจให้ปุ๋ยสูตร 9-24-24 ทางดินและให้น้ำด้วย ประมาณ 10 วัน จะเห็นผลขยายขึ้น และถ้าต้องการให้แก่เร็วขึ้น ควรฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 6-24-24 อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร นวลจะขึ้นหลังจากนั้น 7-10 วัน




“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)



มะม่วง

มะม่วง เดิมมีชื่อเรียกทั่วไปว่า มะม่วง, มะม่วงสวน และมะม่วงบ้าน

ชื่อสามัญ เรียกว่า แมงโก (Mango)

ชื่อในภาษาสันสกฤต เรียกว่า อัมรา (Amra) อัมพะ (Amba) ฯลฯ

ชื่อพฤกษาศาสตร์ เรียกว่า แมนกิเฟรา อินดิคา (Mangiferalndica,Linn.)

อยู่ในตระกูล Anacardiaceae

ถิ่นกำเนิด เป็นผลไม้ที่อยู่ในเขตร้อนของประเทศอินเดียและพม่า
มะม่วงในประเทศไทยจักเป็นผลไม้ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ และนอกจากนั้นเมืองไทยก็ยังมีผลไม้เศรษฐกิจอีกมากมายหลากหลายพันธุ์ เช่น ทุเรียน เงาะ ส้ม มังคุด องุ่น เป็นต้น

มะม่วงตามทำเนียบต้นไม้ของกรมป่าไม้จัดได้ว่าเป็นต้นไม้จากต่างประเทศ แต่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นไม้ดั้งเดิมของไทยซึ่งความจริงแล้วมะม่วงมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียและพม่าและ ได้เข้ามาเป็น ที่นิยมในประเทศไทยเมื่อหลายร้อยปีก่อนจึงทำให้กลายเป็นไม้พื้นเมืองไปส่วนในประเทศอินเดียที่เป็นถิ่นกำเนิดถือว่ามะม่วง เป็นผลไม ้โบราณที่สุดของอินเดียหรือเรียกได้ว่าเป็นผลไม้ประจำชาติอินเดียเลยก็ว่า ได้มะม่วงมีความสำคัญต่อศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์เป็นอย่างมากอย่างเช่น นิยายโบราณของฮินดูเล่ากันว่า พระประชาบดีเสกสรรค์ขึ้นมาส่วนกาพย์ในภาษาสันสกฤตก็เต็มไปด้วยการยกย่องสรรเสริญดอก ผล ต้น และพุ่มที่งดงามให้เป็นภาพศิลป์อย่างดีเลิศและเป็นกาพย์ที่แสดงความรู้สึกที่เป็นอมตะซึ่งตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัญนี้ ชาวฮินดูยังใช้ส่วนต่างๆ ของมะม่วงในพิธีบูชา และบวงสรวงเทพเจ้า เช่น ดอกมะม่วง ในฤดูแรกสามารถนำมาบวงสรวงพระสุรัสวดี และในเดือนต่อมาก็จะบวงสรวงแด่พระศิวะซึ่งพู่ของยอดมะม่วงจะนำมาใช้ในพิธี และการบวงสรวงเทพเจ้าเช่นกันกิ่งมะม่วงแห้งใช้โหมกรรมพิธีกองกูณฑ์บูชาเทพเจ้าส่วนหมู่ต้นมะม่วงก็เป็นที่ประทับของ พระพุทธเจ้าซึ่ง นางอัมพปาลี (อัมดาราริกา) ได้เป็นผู้ถวายสวนมะม่วงแด่พระพุทธเจ้า และต่อมาพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วงแห่งนั้น (ต้นรามพฤกษ)


“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)



17.4.59

ผลมะม่วงของสวน

“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)





































11.4.59

เอกลักษณ์ของมะม่วง

มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 นิยมทานดิบและสุก ดิบจะมีรสเปรี้ยว สุกมีรสหวาน

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง นิยมทานดิบและสุก ดิบจะมีรสเปรี้ยว สุกมีรสหวาน

มะม่วงน้ำดอกไม้พระประแดง นิยมทานดิบและสุก ดิบจะมีรสเปรี้ยว สุกมีรสหวานมากๆๆ

มะม่วงน้ำดอกไม้มัน นิยมทานดิบ 

มะม่วงโชคอนันต์ นิยมทานดิบและสุก ดิบจะมีรสเปรี้ยว สุกมีรสหวาน เนื้อแน่นกรอบ 

มะม่วงอกร่องทอง นิยมทานสุก มีรสชาติหวานหอม เนื้อนิ่ม 

มะม่วงอกร่องเขียว นิยมทานสุก มีรสชาติหวานหอม เนื้อนิ่ม 

ะม่วงกร่องพิกุลทอง นิยมทานสุก ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า 

มะม่วงมหาชนก นิยมทานสุก 

มะม่วงมันขุนศรี นิยมทานดิบ หวานมัน เนื้อจะสีเขียวรสชาติมันหอมอร่อย 

มะม่วงทวายเดือนเก้า นิยมทานดิบ ผลใหญ่ผลละประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งกิโล สีสวย

มะม่วงฟ้าลั่น นิยมทานดิบ กรอบ มัน สุกหวาน

มะม่วงเขียวเสวย นิยมทานดิบ หวานมัน สุกหวาน

มะม่วงเขียวใหญ่ นิยมทานดิบ

มะม่วงแก้ว นิยมทานดิบและสุก 

มะม่วงแก้ว 007 นิยมทานดิบและสุก 

มะม่วงแก้วขมิ้น นิยมทานดิบและสุก เนื้อสีเหลืองเข้ม

มะม่วงแรด นิยมทานดิบ เปรี้ยว กรอบ มัน ถ้าแก่ๆ ก็ไม่ค่อยเปรี้ยว

มะม่วงสามฤดู นิยมทานดิบและสุก 

มะม่วงทองดำ นิยมทานสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน 

มะม่วงหัวช้าง นิยมทานดิบและสุก

มะม่วงบุญบันดาล นิยมทานดิบและสุก

มะม่วงแก้วโลกา นิยมทานดิบและสุก

มะม่วงอาร์ทูอีทู นิยมทานดิบและสุก

มะม่วงแก้วขมิ้น นิยมทานดิบและสุก

มะม่วงสังขยา นิยมทานสุก

มะม่วงพิมเสน นิยมทานสุก สีส้มสวยมีกลิ่นยางเฉพาะตัว

มะม่วงเขียวสามรส นิยมทานสุก

มะม่วงแดงจักรพรรดิ์ นิยมทานดิบและสุก

มะม่วงหนองแซง นิยมทานดิบ เปรี้ยว กรอบ มีกลิ่นเฉพาะ 

มะม่วงพิมเสนมัน นิยมทานดิบ มัน และมีกลิ่นหอม เฉพาะตัว 

มะม่วงตลับนาก นิยมทานดิบและสุก เปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบ

มะม่วงหนองแซง นิยมทานดิบ เปรี้ยว กรอบ มีกลิ่นเฉพาะ





“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)